อาการชัก
การชักในสุนัขสามารถพบได้ในสุนัขทุกสายพันธุ์ และทุกช่วงอายุ สุนัขที่พบอาการชักบ่อยคือ บีเกิ้ล, ดัชชุนด์, สเปเนียล, โกลเด้น, มินิเอเจอร์, พูเดิ้ล, ไซบีเรียน ฮัสกี้ เป็นต้น อาการชักแบ่งออกเป็น
1. อาการชักแบบปฐมภูมิ เช่น การชักที่มีสาเหตุเนื่องจากความผิดปกติทางพันธุกรรม
2. อาการชักแบบทุติยภูมิ จะได้แก่ การเสื่อมของร่างกาย การพัฒนาโครงสร้างที่ผิดปกติทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ของระบบประสาท จากสารพิษ พวกยาฆ่าแมลงหรือสารตะกั่ว โรคติดเชื้อ เช่นโรคไข้หัดสุนัข หรือสมองอักเสบแบบติดเชื้อ ความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือความผิดปกติของตับและไต หรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ
อาการ เราสามารถสังเกตอาการทั่วไปได้ในกรณีที่สุนัขมีความผิดปกติ สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆ ดังนี้
Prodome stage สุนัขมักมีพฤติกรรมหรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย โดยเริ่มแสดงความผิดปกติก่อนการชัก
Aura stage สุนัขเริ่มมีพฤติกรรมหรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น พบอาการน้ำลายไหล อาเจียน ตัวสั่น สูญเสียการควบคุม การขับถ่ายปัสสาวะ
Ictus stage (ระยะชัก) กินเวลาประมาณ 1 – 3 นาที สุนัขมีอาการชัก เหยียดเกร็ง สูญเสียการควบคุม การขับถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระ ไม่มีสติ กัดฟัน
Postictal stage (ระยะหลังการชัก) สุนัขจะมีอาการกระวนกระวาย เหนื่อย กระหายน้ำมาก อาการนี้จะมีระยะนานหลายวันเลยทีเดียว
การรักษา การช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่น้องชิที่เริ่มจะแสดงอาการชัก เราสามารถทำได้โดยให้น้องชิอยู่บริเวณพื้นที่โล่ง เงียบ ลดเสียงดัง หากน้องชิแสดงอาการชัก ควรพาน้องชิไปตรวจร่ายกายทั่วไปและการตอบสนองทางระบบประสาท หากน้องชิแสดงอาการชักบ่อยหรือชักต่อเนื่องนานกว่าปกติ ควรนำน้องชิไปตรวจอย่างละเอียด
สำหรับความผิดปกติที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด สัตวแพทย์จะรักษาอาการชักเพื่อลดความถี่และความรุนแรงของการชัก โดยจะใช้ยาในกลุ่มต่างๆ